วันนี้ (27 ธ.ค.2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรั

วันนี้ (6 ธ.ค.2565) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) รับทราบรายงานตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ สำหรับรายงานความคืบหน้าการพัฒนา
วันนี้ (26 ก.ย.2565) นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่า ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,989 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่วนระดับน้ำแม่น้ำเจ้า
กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ต.ป่าหุ่ง และตำบลข้างเคียงอาทิ ต.เมืองพาน และต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย กว่า 10 หมู่บ้าน ประมาณ 150 คน พากันเดินทางมาปักหนักชุมนุม บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดระงับ และมีคำสั่งยุติการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง มีแผนดำเนินการโครงการก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ โดยชาวบ้านได้จัดป้ายข้อความเรียกร้องขอความธรรรม และป้ายขอระงับโครงการ และข้อกังวลต่างมาชูแสดงสัญญาลักษณ์ไม่เห็นด้วยพร้อมตะโกนไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ อยู่ด้านหน้าศาลากลาง น.ส.อรวรรณ บุญปั๋น กรรมการกลุ่มต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า ต.ป่าหุ่ง กล่าวว่า อบต.ป่าหุ่ง ได้ยื่นเรื่องเสนอจัดทำโครงการขึ้นที่บริเวณบ้านห้วยประสิทธิ์ หมู่ 12 ต.ป่าหุ่ง อ.พาน โดยที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ทราบเรื่อง เพิ่งจะมารู้ตอนที่ได้มีการซื้อที่ดิน เพื่อรองรับโครงการ 130 ไร่ ในช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้าน 11 หมู่บ้าน ที่จะได้รับผลกระทบไม่ทราบเรื่อง ไม่มีแจ้งข่าวสารอย่างทั่วถึง แต่มีการทำประชาคม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบเพียง 336 คนเท่านั้น และทราบว่าขณะนี้เรื่องถึงกระทรวงมหาดไทยแล้ว น.ส.อรวรรณ กล่าวว่า พื้นที่รอบๆ บริเวณจุดก่อสร้างเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำนาทำไร่ทำสวนและเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลานิลที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ชาวบ้านจึงเกรงว่า หากมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะที่จะต้องรองรับขยะจากเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง ก็จะทำให้พืชไร่ และวิถีชุมชนที่ชาวบ้านเคยดำรงชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงไป พื้นที่ดังกล่าวยังมีคลองชลประทานไหลผ่านที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านหลายๆ หมู่บ้านด้วย ล่าสุด น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมาธิการสิทธิวิเคราะห์ บอล มา รี ฮา ม น์มนุษยชนแห่งชาติ พร้อมคณะฃเดินทางมาติดตามเรื่องปัญหาขยะของ จ.เชียงราย โดยมีทางนางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นำส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูล โดยมีการเชิญทางส่วนของอำเภอพาน อบต.ป่าหุ่งและตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมให้ข้อมูลและหาทางออกร่วมกันด้วย โดย อบต.ป่าหุ่ง ยอมรับว่า ดำเนินการเสนอเรื่องเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะจริง เนื่องจากปัจจุบัน อบต.ป่าหุ่งและพื้นที่ อ.พาน มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขยะล้นในอนาคต จึงพยายามที่จะหาแนวทางในการดำเนินการกำจัดขยะ ซึ่งการเผาคือการกำจัดที่ดีที่สุด จึงจัดแผนทำเป็นโรงไฟฟ้าขยะ นอกจากจะเป็นการกำจัดขยะได้เพียงพอ หากทำถูกวิธีก็ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อีกทั้งยังได้พลังงานไฟฟ้ามาใช้ ดีกว่าปัจจุบันที่การจำกัดขยะเพียงการเคลื่อนย้ายออกจากชุมชนไปอยู่นอกชุมชนเท่านั้นขยะก็ยังมีอยู่ ทดลองนำเตาเผาขยะขนาดเล็กมาใช้ก็ไม่เพียงพออีกทั้งยังเกิดมลพิษด้วย ทั้งนี้การหารือใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมงชาวบ้านก็ยังคงยืนยันที่ขอให้ทางจังหวัดมีคำสั่งให้ทางจังหวัดสั่งยุติโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลังการประชุม น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยตัวแทนของจังหวัดเชียงราย ได้เดินทางมารับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมอธิบายถึงหลักการและขั้นตอนการยื่นขอทำโรงไฟฟ้าขยะจะต้องมีอีกหลายขั้นตอน ซึ่งตอนนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความเห็นของทาง อบต. และเรื่องถึงคณะกรรมสิ่งปฎิกูลขยะมูลฝอยของ จ.เชียงรายแล้ว หลังจากนั้นหากผ่าน จึงจะต้องประมูลจัดซื้อจ้างทำสัญญาซื้อขายไฟ และต้องมีการรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายโรงงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานใบอนุญาตซื้อไฟ ซึ่งจะพิจารณาเป็นขั้นตอนไป จึงจะดำเนินการก่อสร้างได้ ซึ่้งทางอำเภอเองก็จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิด ด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย ทำให้กลุ่มชาวบ้านยอมสลายตัวแต่ยืนยันที่จะคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะให้ถึงที่สุด
วันนี้ (15 มิ.ย.2564) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ลงพื้นที่สำรวจหน่วยฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 นอกโรงพยาบา
วันนี้ (19 ต.ค.2564) พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวก
กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ต.ป่าหุ่ง และตำบลข้างเคียงอาทิ ต.เมืองพาน และต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย กว่า 10
กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ต.ป่าหุ่ง และตำบลข้างเคียงอาทิ ต.เมืองพาน และต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย กว่า 10 หมู่บ้าน ประมาณ 150 คน พากันเดินทางมาปักหนักชุมนุม บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดระงับ และมีคำสั่งยุติการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง มีแผนดำเนินการโครงการก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ โดยชาวบ้านได้จัดป้ายข้อความเรียกร้องขอความธรรรม และป้ายขอระงับโครงการ และข้อกังวลต่างมาชูแสดงสัญญาลักษณ์ไม่เห็นด้วยพร้อมตะโกนไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ อยู่ด้านหน้าศาลากลาง น.ส.อรวรรณ บุญปั๋น กรรมการกลุ่มต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า ต.ป่าหุ่ง กล่าวว่า อบต.ป่าหุ่ง ได้ยื่นเรื่องเสนอจัดทำโครงการขึ้นที่บริเวณบ้านห้วยประสิทธิ์ หมู่ 12 ต.ป่าหุ่ง อ.พาน โดยที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ทราบเรื่อง เพิ่งจะมารู้ตอนที่ได้มีการซื้อที่ดิน เพื่อรองรับโครงการ 130 ไร่ ในช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้าน 11 หมู่บ้าน ที่จะได้รับผลกระทบไม่ทราบเรื่อง ไม่มีแจ้งข่าวสารอย่างทั่วถึง แต่มีการทำประชาคม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบเพียง 336 คนเท่านั้น และทราบว่าขณะนี้เรื่องถึงกระทรวงมหาดไทยแล้ว น.ส.อรวรรณ กล่าวว่า พื้นที่รอบๆ บริเวณจุดก่อสร้างเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำนาทำไร่ทำสวนและเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลานิลที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ชาวบ้านจึงเกรงว่า หากมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะที่จะต้องรองรับขยะจากเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง ก็จะทำให้พืชไร่ และวิถีชุมชนที่ชาวบ้านเคยดำรงชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงไป พื้นที่ดังกล่าวยังมีคลองชลประทานไหลผ่านที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านหลายๆ หมู่บ้านด้วย ล่าสุด น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมาธิการสิทธิวิเคราะห์ บอล มา รี ฮา ม น์มนุษยชนแห่งชาติ พร้อมคณะฃเดินทางมาติดตามเรื่องปัญหาขยะของ จ.เชียงราย โดยมีทางนางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นำส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูล โดยมีการเชิญทางส่วนของอำเภอพาน อบต.ป่าหุ่งและตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมให้ข้อมูลและหาทางออกร่วมกันด้วย โดย อบต.ป่าหุ่ง ยอมรับว่า ดำเนินการเสนอเรื่องเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะจริง เนื่องจากปัจจุบัน อบต.ป่าหุ่งและพื้นที่ อ.พาน มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขยะล้นในอนาคต จึงพยายามที่จะหาแนวทางในการดำเนินการกำจัดขยะ ซึ่งการเผาคือการกำจัดที่ดีที่สุด จึงจัดแผนทำเป็นโรงไฟฟ้าขยะ นอกจากจะเป็นการกำจัดขยะได้เพียงพอ หากทำถูกวิธีก็ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อีกทั้งยังได้พลังงานไฟฟ้ามาใช้ ดีกว่าปัจจุบันที่การจำกัดขยะเพียงการเคลื่อนย้ายออกจากชุมชนไปอยู่นอกชุมชนเท่านั้นขยะก็ยังมีอยู่ ทดลองนำเตาเผาขยะขนาดเล็กมาใช้ก็ไม่เพียงพออีกทั้งยังเกิดมลพิษด้วย ทั้งนี้การหารือใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมงชาวบ้านก็ยังคงยืนยันที่ขอให้ทางจังหวัดมีคำสั่งให้ทางจังหวัดสั่งยุติโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลังการประชุม น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยตัวแทนของจังหวัดเชียงราย ได้เดินทางมารับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมอธิบายถึงหลักการและขั้นตอนการยื่นขอทำโรงไฟฟ้าขยะจะต้องมีอีกหลายขั้นตอน ซึ่งตอนนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความเห็นของทาง อบต. และเรื่องถึงคณะกรรมสิ่งปฎิกูลขยะมูลฝอยของ จ.เชียงรายแล้ว หลังจากนั้นหากผ่าน จึงจะต้องประมูลจัดซื้อจ้างทำสัญญาซื้อขายไฟ และต้องมีการรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายโรงงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานใบอนุญาตซื้อไฟ ซึ่งจะพิจารณาเป็นขั้นตอนไป จึงจะดำเนินการก่อสร้างได้ ซึ่้งทางอำเภอเองก็จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิด ด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย ทำให้กลุ่มชาวบ้านยอมสลายตัวแต่ยืนยันที่จะคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะให้ถึงที่สุด
วันนี้ ( 8 ก.พ.) ในการประชุมร่วมรัฐสภา โดยมีวาระสำคัญในการพิจารณาร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่คณะรัฐมนตรีเสนอ